ชื่อ-สกุล :นายสิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง
ปัจจุบัน :
- นักวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
สถานที่ทำงาน :
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ประวัติการศึกษา :
- 1997-2000 : B.A., Second-class honours (division one), University of Oxford, United Kingdom
- 2000-2004 : Ph.D. Plant Science Department, University of Cambridge, United Kingdom
ประวัติการทำงาน :
- 2004-2008 : นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- 2008-2016 : หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- 2016-2019 : ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยเทคโนโลยีจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รางวัล/เกียรติยศที่เคยได้รับ :
การศึกษาจีโนมพืชเพื่อการใช้ประโยชน์ในการเกษตร
Arabidopsis thaliana เป็นพืชชนิดแรกที่ได้มีการถอดรหัสจีโนมสำเร็จในปี ค.ศ. 2000 ข้อมูลนี้ถูกใช้ในการศึกษาหน้าที่ของยีนต่างๆในสปีชีส์อื่นๆอย่างกว้างขวาง และในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ เทคนิคต่างๆในการศึกษาพันธุศาสตร์และชีวโมเลกุลได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัจจุบันมีการศึกษาจีโนมของพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง ข้อมูลจีโนมพืชในสปีชีส์ต่างๆสามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่สำคัญในกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนั้น ตัวอย่างของงานวิจัยที่ทีมเราได้ศึกษาได้แก่ การวิเคราะห์จีโนมพืชวงศ์แตง (Cucurbitaceae) ทำให้สามารถพบการเปลี่ยนแปลงของจีโนมพืชในกลุ่มนี้เนื่องจากการเกิด Genome Duplication, Genome Hybridization, Genome Rearrangement และการเพิ่ม/ลดจำนวนของ Transposon Elements หรือการศึกษาจีโนมพืชในวงศ์ Euphorbiaceae เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง สบู่ดำ ทำให้พบการเกิด Genome Duplication ก่อนที่ยางพาราและมันสำปะหลังจะวิวัฒนาการแยกออกจากกัน หรือการศึกษาพืช Polyploid เช่น จีโนมของอ้อยการค้าในปัจจุบันที่เกิดจากการรวมกันของ 2 สปีชีส์ ได้แก่ Saccharum officinarum และ Saccharum spontaneum