โครงการ อายิโนะโมะโต๊ะ โภชนาการเพื่อเด็กไทย ก้าวไกลสร้างชาติ

image

ความเป็นมา

สืบเนื่องจากมูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ดำเนินโครงการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างโรงอาหารให้กับโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ผ่านการทำบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่างมูลนิธิฯ และ สพฐ. โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 โครงการ “50 ปี 50 โรงเรียน” (พ.ศ.2553 – พ.ศ.2557) ด้วยการสนับสนุนงบประมาณ 25 ล้านบาท ให้กับโรงเรียนจำนวน 50 แห่ง และ

ระยะที่ 2 โครงการ “อายิโนะโมะโต๊ะ โภชนาการเพื่อเด็กไทย ก้าวไกลสร้างชาติ” (พ.ศ.2558 – พ.ศ.2562) ด้วยการสนับสนุนงบประมาณ 80 ล้านบาท ให้กับโรงเรียน 80 แห่ง

ซึ่งนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 จนถึง พ.ศ.2562 มูลนิธิฯ ได้สนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 105 ล้านบาท ส่งผลให้โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ในประเทศไทย จำนวน 130 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีนักเรียนรวมกว่า 30,000 คน ได้มีโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะในการนั่งรับประทานอาหาร และพัฒนาต่อยอดโครงการในการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานด้านอาหารและโภชนาการ ด้วยการจัดฝึกอบรมโภชนาการเพื่อเพิ่มความรู้ด้านอาหารกลางวันโรงเรียน เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพและโภชนาการให้กับนักเรียน ดังนั้นมูลนิธิฯ จึงมีความประสงค์ที่จะสานต่อโครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดโภชนาการที่ดีขึ้นให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ในสังกัด สพฐ.

จึงได้ดำเนินโครงการต่อเป็น ระยะที่ 3 ภายใต้โครงการ “อายิโนะโมะโต๊ะ โภชนาการเพื่อเด็กไทย ก้าวไกลสร้างชาติ” โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการฯ 5 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ.2564 จนถึง พ.ศ.2568 ด้วยการสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างโรงอาหาร และสนับสนุนองค์ความรู้ และสื่อการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ให้กับโรงเรียน 50 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ

  1. วัตถุประสงค์ : เพื่อดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม โดยการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างอาคารโรงอาหาร “อายิโนะโมะโต๊ะ” สนับสนุนองค์ความรู้ และสื่อการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ให้กับโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาสภายใต้ สังกัด สพฐ. เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นของนักเรียนไทยด้วยการจัดการโภชนาการที่ดีในโรงเรียนและสร้างความยั่งยืนต่อไป
  2. รูปแบบการดำเนินงาน : แบ่งออกเป็น 3 ประเภทกิจกรรมหลัก อันได้แก่

1) การสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ
2) การสนับสนุนการให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ด้วยการจัดอบรม การติดตามผล การจัดอบรมสำหรับโรงเรียนต้นแบบ และการรับรองมาตรฐานหลักสูตร
3) การสนับสนุนด้านสื่อการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ด้วยการจัดทำสื่อเรียนรู้ออนไลน์ หนังสือโภชนาการ หนังสือตำรับอาหาร และกิจกรรมสำหรับตัวแทนเขตพื้นที่

  1. งบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 130,000,000 บาท แบ่งเป็นดังนี้

> งบประมาณก่อสร้างโรงอาหาร จำนวนเงินทั้งสิ้น 110,000,000 บาท (สนับสนุนปีละ 22 ล้านบาท / 10 โรงเรียน)
> การให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ จำนวนเงินทั้งสิ้น 10,000,000 บาท
> สื่อการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ จำนวนเงินทั้งสิ้น 10,000,000 บาท

  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

1) เด็กนักเรียนไทย พร้อมครูและบุคลากรในโรงเรียน มีโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อใช้ในการประกอบอาหาร และนั่งรับประทานอาหาร จากการได้รับ “โรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ”
2) ครู และบุคลากร ผู้ดูแลและรับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ได้รับความรู้ที่ถูกต้องในด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์หรือปรับใช้กับการจัดอาหารกลางวันในโรงเรียนได้ และส่งผลให้เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
3) โรงเรียนที่ผ่านการอบรมโรงเรียนต้นแบบ สามารถนำองค์ความรู้และแนวปฏิบัติต่างๆ ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียนไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนของตนได้อย่างยั่งยืน และสามารถต่อยอดขยายความรู้ไปยังโรงเรียนในเครือข่ายและเขตได้
4) นักเรียนที่อยู่ภายใต้โครงการ “อายิโนะโมะโต๊ะ โภชนาการเพื่อเด็กไทย ก้าวไกลสร้างชาติ” มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
5) เขตพื้นที่การศึกษามีสื่อและเครื่องมือ ในการส่งเสริมและสนับสนุนความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน และสามารถนำสื่อและเครื่องมือดังกล่าวไปต่อยอดและประยุกต์ใช้กับโรงเรียนภายใต้สังกัดของตนเองได้

จากการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น มูลนิธิฯ จึงมีความประสงค์ที่จะสานต่อโครงการร่วมกับหน่วยงาน ความร่วมมือที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาต่อยอด และผลักดันให้โรงเรียนภายใต้โครงการฯ ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบด้านอาหารและโภชนาการ และสามารถขยายผลต่อยอดไปยังโรงเรียนอื่น ๆ ในสังกัด สพฐ. ต่อไปโดยมีรายละเอียดดังนี้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดการอาหารกลางวันสู่ระดับมาตรฐาน อันจะส่งผลต่อการปรับปรุงภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ และ/หรือกรณีศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
  2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดแนวคิดในการเสริมสร้างภาวะโภชนาการและสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ที่นำไปปฏิบัติได้จริง และเป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนใกล้เคียงในการจัดทำโครงการด้านโภชนาการและสุขภาพ
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน ให้มีความรู้ความสามารถในการดำเนินการโครงการอาหารกลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

รูปแบบการดำเนินงาน

ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดการด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนแบบองค์รวม เพื่อบูรณาการองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ในโรงเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามบริบทที่แท้จริงของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เกิดความยั่งยืนกับโรงเรียน และสามารถต่อยอดขยายผลไปยังโรงเรียนในเครือข่ายของตนเองได้

กลุ่มเป้าหมาย

โรงเรียนภายใต้โครงการของมูลนิธิฯ ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านอาหารและโภชนาการ จากมูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ จำนวน 180 โรงเรียน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ครู และบุคลากร ผู้ดูแลและรับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน มีความรู้ความสามารถในด้านอาหารและโภชนาการ สามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการจัดอาหารกลางวันในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามบริบทปัจจุบัน อันจะส่งผลต่อการปรับปรุงภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น
  2. โรงเรียนที่ผ่านการอบรมโรงเรียนต้นแบบ เกิดแนวคิดในการเสริมสร้างภาวะโภชนาการและสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน สามารถบูรณาการองค์ความรู้และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ด้านอาหารและโภชนาการไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนของตนได้อย่างยั่งยืน และพัฒนาต่อยอดเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดทำโครงการด้านโภชนาการและสุขภาพ ขยายผลไปยังโรงเรียนใกล้เคียงในเครือข่ายและเขตได้
  3. นักเรียนที่อยู่ภายใต้โครงการ “อายิโนะโมะโต๊ะ โภชนาการเพื่อเด็กไทย ก้าวไกลสร้างชาติ” มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
  4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีสื่อ เครื่องมือ และโรงเรียนต้นแบบในการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน สามารถบูรณาการต่อยอดและประยุกต์ใช้กับโรงเรียนภายใต้สังกัดของตนเองได้อย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินงานโครงการ

image

160 หลัง

โรงเรียนที่ได้รับ
โรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
ในการนั่งรับประทานอาหาร

image

32,000 คน

นักเรียนที่ได้มีโรงอาหาร
ที่ถูกสุขลักษณะในการนั่ง
รับประทานอาหาร

โรงเรียนในโครงการ